ข้อมูลทั่วไป
ความเป็นมา
ประชาคมอาเซียน
คำขวัญ
   
 
       
  ราชอาณาจักรไทย
บรูไน ดารุสซาราม
  สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐสิงคโปร์
  มาเลเซีย
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ราชอาณาจักรกัมพูชา
สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว
  สาธารณรัฐแห่งสภาพพม่า
 

   

      

                      ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ยาวนานมาก โดยมีความสืบเนื่องและคาบเกี่ยวระหว่างอาณาจักร โบราณหลายแห่ง เช่น อาณาจักรทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้ เขมร ฯลฯ โดยเริ่มมีความชัดเจนในอาณาจักรสุโขทัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1981 อาณาจักรล้านนาทางภาคเหนือ กระทั่งเสื่อมอำนาจลงในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 แล้วความรุ่งเรืองได้ปรากฏขึ้นในอาณาจักรทางใต้ ณ กรุงศรีอยุธยา โดยยังมีอาณาเขตที่ไม่แน่ชัดครั้นเมื่อเสีย กรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากสินจึงได้ย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี
                      ภายหลังสิ้นสุดอำนาจและมีการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2325 อาณาจักรสยาม เริ่มมีความเป็นปึกแผ่น มีการผนวกดินแดนบางส่วนของอาณาจักรล้านช้าง ครั้นในรัชกาลที่ 5 ได้ผนวก ดินแดนของเมืองเชียงใหม่ หรือ อาณาจักรล้านนาส่วนล่าง (ส่วนบนอยู่บริเวณเชียงตุง) เป็นการรวบรวม ดินแดนครั้งใหญ่ ครั้งสุดท้าย วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบ ประชาธิปไตยแต่ก็ต้องรอ อีกถึง 41 ปี กว่าจะได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2516 หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา หลังจากนั้นมีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยอีกสองครั้งคือ เหตุการณ์ 6 ตุลาคม และ พฤษภาทมิฬ ล่าสุดได้เกิด รัฐประหารขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2549

          

                      กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทย มีเนื้อที่ 1,568 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 5.6 ล้านคน นับเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย
                      กรุงเทพมหานคร มีอายุมาแล้วกว่า 230 ปี ก่อตั้งราวคริสตศตวรรษที่ 15 (พุทธศตวรรษที่ 20) มีสถานที่สำคัญอย่างวัดพระแก้ว สนามหลวงเป็นสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากพื้นที่ตรงนี้เคยเป็น พระบรมมหาราชวังของกษัตริย์ในต้นราชวงศ์จักรีมาก่อน มีสยามสแควร์ตลาดนัดสวนจตุจักรเป็นสัญลักษณ์ ของการช็อปปิ้ง และมีอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นจุดศูนย์กลาง ของการเดินทาง

    

                      : ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ 

    

                      : ประมาณร้อยละ 95 ของประชากรไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่ง เป็นศาสนาประจำชาติ โดยพฤตินัย แม้ว่ายังจะไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ตาม ศาสนาอิสลามประมาณ ร้อยละ 4 ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยทางภาคใต้ตอนล่าง ศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 1

   

                      : บาท (Baht) เป็นสกุลเงินของประเทศไทย
                      : ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 20 บาท, 50 บาท , 100 บาท ,                         500 บาท และ 1,000 บาท

                                              

                      สำหรับชุดผู้หญิงคือ ชุดไทยจักรี เป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียงใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหาก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควรความสวยงาม
   

                      ดอกไม้ประจำชาติไทย คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) ที่มีสีเหลืองสวยสง่างามเมื่อเบ่งบาน แล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิ์ศรี ซึ่ง ชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ ดอกคูนโดยมีความเชื่อว่าสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์ คือ สีแห่งพระพุทธศาสนา และความ รุ่งโรจน์รวมทั้งยัง เป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติอีกด้วยโดยดอกราชพฤกษ์จะ เบ่งบานในช่วง เดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม มีจุดเด่นเวลาเบ่งบานคือการผลัดใบออกจนหมดต้นเหลือไว้เพียงแค่สีเหลือ อร่าม ของดอกราชพฤกษ์เท่านั้น

     
                      ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีลักษณะเป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ผ่านระบบรัฐสภาหรือประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ผู้ทรงบริหาร พระราชอำนาจตามขอบเขตที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญการบริหารประเทศประชาชนจะใช้ อำนาจบริหารผ่านคณะรัฐมนตรีที่ผ่านการคัดเลือกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีผู้นำรัฐบาล คือ นายกรัฐมนตรี